แม็ก แฮม เฮ้าส์
Mac & Ham House
เจ้าของ : คุณอารักษ์ พรประภา, คุณสุรีย์พร พรประภา, คุณจิราภา พรประภา
ที่ตั้ง : สุขุมวิท 49 กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย
สถานะ : เสร็จสมบูรณ์
ปี : 2563
พื้นที่ : 435 ตร.ม.
สถาปนิก : สุริยะ อัมพันศิริรัตน์ / Walllasia,.ltd
ทีมงานสถาปนิก : ปรีณาพร แสงศรี, พนมพร พรมแปง, จิรวัฒน์ พลสามารถ, ชัชวาล ตุลยนิษย์
ออกแบบและจัดทำภูมิทัศน์ : Walllasia,.ltd
อินทีเรีย ดีไซน์ : Walllasia,.ltd
วิศวกรโครงสร้าง : พชรธร คำพิบูล
ผู้รับเหมาก่อสร้าง : -
ภาพถ่าย : Spaceshift Studio / ภิรักษ์ อนุรักษ์เยาวชน
Client : Mr.Alaks phornprapha, Mrs.Sureeporn phornprapha, Ms.Jirapa phornprapha
Location : Sukhumvit 49, Bangkok, Thailand
Status : Completed
Year : 2020
Project Area : 435 sqm.
Architect : Suriya Umpansiriratana / Walllasia Ltd.
Project Teams : Preenaporn Sangsri, Panomporn Prompang
Jirawat Ponsamart, Chatchawal Tallayanit
Landscape Designer and Builder : Walllasia Ltd.
Interior Designer : Walllasia Ltd.
Structure Engineer : Pacharathorn kampimol
Contractor : -
Photographer : Spaceshift Studio / Pirak Anurakyawachon
บ้านคอนเทนเนอร์สี midnight blue เปรียบเสมือนศาลาที่เชื่อมต่อคนในบ้าน เข้ากันด้วยพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจและจัดวางลำดับการเข้าถึงอย่างเป็นส่วนตัวที่ถูกวาง Grid-line ไว้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยโดยแฝงตัวกับต้นไม้และธรรมชาติเเบบป่าโปร่งที่เผยให้เห็นผ่านแสงเเละเงาทอดผ่าน สะท้อนให้เห็นชีวิตของคนเเละสัตว์ผ่านพื้นที่ร่วมอาศัย
โดยจุดเริ่มต้นจากเจ้าของโครงการ ที่ต้องการสร้างศาลาและออกแบบสวนเพื่อเป็นจุดพักผ่อนจากบ้านหลังเดิมในซอยสุขุมวิท 49 แต่ต่อมาลูกสาวได้ย้ายเข้ามาอยู่อาศัยด้วยจึงมีการปรับเปลี่ยนโดยใช้ตู้คอนเทนเนอร์เข้ามาเป็นโครงสร้างกึ่งถาวร เป็นพื้นที่พักอาศัย และแกลเลอรี่ภาพวาดสัตว์เลี้ยง เพื่อให้ยืดหยุ่นต่อการปรับเปลี่ยนพื้นที่ใช้สอยในอนาคต อีกทั้งยังเป็นที่พักพิงของสัตว์เล็กในธรรมชาติอย่าง นก กระรอกอีกด้วย
ท่ามกลางเมืองกรุงเทพ ที่เต็มไปด้วยความแออัดวุ่นวายอีกทั้งยังมีมลภาวะทางอากาศและเสียง ทางผู้ออกแบบได้มองเห็นการสร้างความร่มรื่นในโครงการเพื่อปลีกตัวออกจากความวุ่นวายเหล่านั้น ผ่านการออกแบบพื้นที่ที่ผนวกเข้ากันตั้งแต่ภูมิสถาปัตยกรรมจนไปสู่สถาปัตยกรรม โดยเริ่มตั้งแต่การนำดินที่เหลือจากการขุดเพื่อทำฐานรากมาทำเป็นเนินยกตัวอาคารศาลาให้สูงขึ้น สร้างความเป็นส่วนตัวและปลอดภัยกับผู้อยู่อาศัยเมื่ออาคารถูกวางอยู่ด้านหน้าโครงการ โดยตัวอาคารถูกวางไว้ในรูปแบบ Grid line เป็นระเบียบและลดทอนความเป็นทางการด้วยเส้นสายของงานสวนที่อ่อนช้อยและเข้ากับธรรมชาติ ทางผู้ออกแบบได้มีการเลือกต้นไม้ป่าโปร่ง เพื่อสร้างบรรยากาศแบบสวน Tropical ซึ่งประกอบไปด้วยต้นไม้เน้นทรงโปร่ง เช่น ต้นพะยูงคละเคล้าขนาดกับต้นปีบ ต้นโมกมัน และต้นไคร้ย้อย เพื่อเป็นร่มเงาให้กับทั้งโครงการและกับตัวอาคารที่เป็นเหล็ก ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาด้านการเก็บความร้อนของวัสดุ รวมถึงสนามหญ้าสีเขียวให้ความรู้สึกของความนุ่มชุ่มชื่น ตัดกับตัวอาคารเหล็กทึบ ในส่วนของการสร้างความเป็นส่วนตัวให้กับพื้นที่ ได้มีการใช้แนวรั้วพันธุ์ไม้ เช่น เหลืองชัชวาล ที่ไม่ทึบและอึดอัดจนเกินไป มีการใช้รั้วตะแกรงเหล็กไม้เลื้อย เป็นการเปลี่ยนผ่านระหว่างภายในและภายนอกโครงการ ทำให้ยังคงมีความโปร่ง โล่ง สบาย แต่ปลอดภัย ให้สายลมพัดผ่าน มีแสงแดดรำไร ผนวกกับตัวอาคารที่เป็นตู้คอนเทนเนอร์เหล็กสี Midnight Blue ที่เจ้าของโครงการเป็นคนเลือกทำให้อาคารมีสีที่มองแล้วสบายตา ไม่ดูหนักแน่นจนเกินไป อีกทั้งยังเป็นสีที่ช่วยขับธรรมชาติให้โดดเด่นแต่ก็สามารถแฝงตัวไปกับร่มเงาของความร่มรื่นอย่างกลมกลืน เหมือนกับพรรณไม้ในป่า โดยพื้นที่ชั้นบนของอาคารจะเป็นส่วนของสตูดิโอที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายและชั้นล่างเป็นส่วนของพื้นที่พักผ่อนภายนอกอาคาร มีการออกแบบให้พื้นไม้ออกมาภายในบริเวณสวน ลักษณะเหมือนชานในบ้านเรือนไทย เปรียบดังโซฟาขนาดใหญ่ที่จะเดิน นั่ง หรือนอนเอกเขนกอย่างอิสระตรงไหนก็ได้ ระหว่างพื้นที่ภายในและภายนอกอาคาร ด้วยรูปแบบการตกแต่งที่ดูเรียบง่าย พื้นปูด้วยไม้สัก เสมือนกับธรรมชาติได้เข้าไปในบ้านและหลอมรวมเชื่อมต่อเป็นพื้นที่เดียวกัน
นอกจากจะมีธรรมชาติเป็นองค์ประกอบสำคัญในการหลอมรวมพื้นที่เข้าด้วยกันแล้ว ยังมีเจ้าแมคและเจ้าแฮมที่เป็นสัตว์เลี้ยงแสนรักของเจ้าของโครงการ ที่ผู้ออกแบบมีการคัดสรรรายละเอียดต่างๆของวัสดุ ให้เหมาะสมกับสัตว์เลี้ยง อย่างสุนัขและแมว เช่นมุ้งลวดชนิดพิเศษเพื่อเป็นพื้นที่ให้สามารถวิ่งเล่นเย้าหยอกไปตามที่ต่างๆ สร้างความมีชีวิตชีวาและชุ่มชื่นใจให้กับผู้อยู่อาศัยอันเป็นที่มาของชื่อบ้านหลังนี้อีกด้วย
A container house in midnight blue is like a pavilion warmly connecting all family members with recreation areas and organized private-access sequences through the neatly-placed gridline, hidden with trees and sparse forest, exposed through light and shadows. It reflects the lives of the family and pets through common areas.
In the beginning, the owner wanted to build a pavilion and design a garden as a resting point from the old house in Soi Sukhumvit 49, but later the daughter also wanted to move in. Therefore, the project was modified using a container into a semi-permanent structure as a living area and galleries of pet paintings. The space is flexible to adjust in the future, while it is also a haven for small animals in nature such as birds and squirrels.
Amid the busy city of Bangkok, there is also air pollution and noise. The architect has created a silvan atmosphere to escape from the hustle and bustle through the space that combines landscape with architecture—starting from bringing the remaining soil from the excavation to make the foundation to make a hill to raise the pavilion building providing privacy and security. The structure lays out in an orderly grid style and is less formal with the garden's natural lines. The architect has chosen airy-shape trees to create a tropical atmosphere, such as Rosewood, Cork, Darabela, and Fairy petticoats. These trees also provide shade to the steel building, solving the material heat retention problem. The green lawn feels soft and moist against the hard steel building making the surrounding more natural.
In terms of creating privacy for the area, steel grating fences of tropical ivy plants such as Cat's claw trumpet embraces the perimeter wall. It is a transition between the inside and the outside of the project, making it still airy and comfortable, with the wind blowing through the sun, but still feeling safe. The building is steel containers in midnight blue color chosen by the owner. It has a comfortable color on the eyes, not too heavy, and it is also a color that helps to make nature stand out, yet it harmoniously hides in the shade of the trees like plants in the forest.
The building's upper floor is an easily-accessible studio, while the ground floor is an outdoor relaxation area. The Thai-style -like wooden terrace is like a large sofa to walk, sit, or reclining freely anywhere between the indoor and outdoor spaces. The simply-decorated interior with teakwood floor also gives a feeling of nature that has entered the house, fused with the garden outside as one.
In addition to having nature as a vital element infusing the space together, Mac and Ham are the owner's beloved pets, whose architect has carefully selected various details of materials to suit. A particular type of mosquito net for pets' area where they can run and play around brings life and joy to the residents, which is the origin of this house's name.